Warning: Use of undefined constant name - assumed 'name' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /home/wkk3acth/domains/wkk3.ac.th/public_html/index2.php on line 6

Warning: Use of undefined constant file - assumed 'file' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /home/wkk3acth/domains/wkk3.ac.th/public_html/index2.php on line 6
wkk3.ac.th
[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.9

  

   เว็บบอร์ด >> ห้องนั่งเล่น >>
ฮับบาร์ด ว่าที่นักกีฬาหญิงข้ามเพศคนแรกในโอลิมปิก  VIEW : 595    
โดย ฟ้าใหม่

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 143
ตอบแล้ว :
ระดับ : 9
Exp : 66%
ออฟไลน์ :
IP : xxx

 
เมื่อ : ศุกร์ ที่ 25 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2564 เวลา 14:46:28    ปักหมุดและแบ่งปัน

ถูกวิพากษ์วิจารณ์หนักหน่วงตามคาด สำหรับเรื่องราวของ "ลอเรล ฮับบาร์ด" นักยกน้ำหนักทีมชาตินิวซีแลนด์ กับประเด็นการเข้าแข่งขันโอลิมปิก 2020 นี้ของเธอ

 

โดย ฮับบาร์ด กำลังจะเป็นนักกีฬาข้ามเพศคนแรกที่ได้ลงแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก เนื่องจากนิวซีแลนด์ยืนยันการเลือกเพศของเธอสำหรับการแข่งขันครั้งนี้ในฐานะ "เพศหญิง" นั่นเอง

 

สำหรับ ฮับบาร์ด วัย 43 ปี จะเป็น 1 ใน 5 นักกีฬายกน้ำหนักจากนิวซีแลนด์ที่ได้เข้าร่วมมหกรรมกีฬาครั้งนี้ ซึ่งเธอจะเป็นนักยกน้ำหนักที่อายุมากที่สุดของการแข่งขันด้วย โดยจะร่วมชิงชัยในประเภทหญิงรุ่นน้ำหนัก 87 กิโลกรัม (192 ปอนด์) ขึ้นไป

 

ฮับบาร์ด เป็นบุตรของ ดิก ฮับบาร์ด อดีตนายกเทศมนตรีของเมืองอ็อกแลนด์ เธอเริ่มแข่งยกน้ำหนักในประเภทชาย ตามเพศสภาพกำเนิดมาตั้งแต่อายุ 20 ปี แต่ไม่เคยคว้าเหรียญรางวัลใดได้เลย ก่อนจะตัดสินใจแปลงเพศตอนอายุ 35 ปี เมื่อปี 2013 ซึ่งแน่นอนว่า พอแปลงเพศมาลงแข่งในประเภทหญิงแล้ว เธอสามารถคว้าเหรียญได้หลายเวทีมาก โดยเฉพาะไฮไลต์สำคัญอย่าง เหรียญเงินชิงแชมป์โลก 2017 และ เหรียญทองแปซิฟิกเกมส์ 2019

 

ทั้งนี้ จากการที่ ฮับบาร์ด จะได้ลงแข่งขันในฐานะนักกีฬาข้ามเพศในรายการใหญ่อย่างโอลิมปิก ก่อให้เกิดประเด็นดราม่าตามมาจากแฟนกีฬาทั่วโลก ว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้องเหมาะสมหรือไม่? เพราะจากกล้ามเนื้อและฮอร์โมนในร่างกายตามเพศดั้งเดิมของเธอคือผู้ชาย ไม่ใช่ผู้หญิงเหมือนผู้เข้าแข่งขันคนอื่นๆ

 

อย่างไรก็ดี จากการที่คณะโอลิมปิกสากล มีข้อบังคับเอาไว้เมื่อปี 2015 ว่าด้วย เมื่อนักกีฬามีการเปลี่ยนเพศสภาพจากชายเป็นหญิง นักกีฬาผู้นั้นสามารถเข้าร่วมแข่งขันในประเภทหญิงได้ แต่จะต้องตรวจและมีค่าระดับ เทสโทสเตอโรน (ฮอร์โมนเพศชาย) ในร่างกายต้องต่ำกว่า 10 นาโนโมลด์ต่อลิตร ติดต่อกันเป็นเวลา 12 เดือน ซึ่งสมาพันธ์ยกน้ำหนักสากลก็ได้ใช้กฎนี้ตามด้วย

 

ที่ผ่านมา กฎนี้ยังเป็นที่ถกเถียงมากมาย โดยเฉพาะความเห็นของนักวิทยาศาสตร์ว่า มันยุติธรรมจริงหรือไม่? เพราะมีผลวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าผู้ชายที่ผ่านวัยเจริญพันธุ์มาแล้ว แม้จะกินยากดฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนเอาไว้ แต่เจ้าตัวก็ยังได้เปรียบในเรื่องความแข็งแกร่ง, ความหนาแน่นของมวลกล้ามเนื้อ, กระดูก และพละกำลัง มากกว่าเพศหญิงโดยกำเนิดอยู่ดี

 

ติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวแวดวงกีฬา เทรนใหม่ๆ  ได้ที่   

webzervice.com