รัฐสภา-เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2563 ห้องประชุมคณะกรรมาธิการ (สผ.)419 อาคารรัฐสภา (เกียกกาย) ส.ส.ดร.บุญลือ ประเสริฐโสภา ประธานคณะกรรมาธิการกีฬา สภาผู้แทนราษฎร มอบหมายให้ ดร.เอกการ ซื่อทรงธรรม ประธานคณะอนุกรรมาธิการติดตามผลกระทบทางด้านการกีฬา เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และ ดร.สิริพงษ์ อังคสกุลเกียรติ ประธานคณะอนุกรรมาธิการศึกษาพระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ.2542 ดำเนินการประชุมร่วม 2 คณะ เพื่อพจารณาศึกษาแนวทางในการบรรเทาความเดือดร้อนของนักมวยและบุคลากรในวงการกีฬามวยในการขออนุซาตจัดการแข่งขันชกมวยในพื้นที่ต่างจังหวัด(จัดมวยภูธร) โดยได้เชิญผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม จำนวน 3 หน่วยงาน ประกอบด้วยด้วย กระทรวงการท่องเที่ยวกีฬา,กระทรวงมหาดไทย และสภาความมั่นคงแห่งชาติ
การประชุมครั้งนี้ ผู้ชี้แจงได้อธิบายถึงแนวทางในการจัดทำคู่มือการจัดการแข่งขันในประเภทต่างๆ โดยเฉพาะกีฬามวยภูธรที่สามารถจัดได้ทันทีแต่ต้องเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของสภาความมั่นคงแห่งชาติ แต่ก็มีข้อสังเกตเกี่ยวกับปัญหากาารจัดมวยในการให้อำนาจ กกท.- ผวจ.-และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่ต้องการให้ลดขั้นตอนเพื่อให้การจัดมวยสามารถจัดได้โดยเฉพาะขั้นตอนด้านระยะเวลาในการจัดมวย
นายประเสริฐ หอธรรมรัตน์ โฆษกคณะอนุกรรมาธิการศึกษาพระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ.2542 กล่าวว่า การจัดการแข่งขันชมมวยถือเป็นจารีตประเพณีมาแต่โบราณ ถือเป็นกีฬาศิลปะการป้องกันตัวประจำชาติไทย ที่ฝรั่งหลงไหลการที่จะเปิดให้มีการอนุญาตให้มีการจัดมวย จึงต้องการให้เกิดความชัดเจนภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรคไวรัสโคโรนา เนื่องจากคำสั่งผ่อนปรนเป็นการใช้ดุลย์พินิจผู้จัดเห็นว่าไม่มีความชัดเจนที่มองว่าสองมาตรฐานเพราะในการให้บริการสถานบันเทิงหรือแม้แต่กิจกรรมของ “ลุงพล” เต่างอย กลับสามารถจัดได้แต่ในทางกลับกันคนกีฬามวยไม่สามารถที่จะดำเนินการได้
นายสามารถ มะลูลีม รองประธานคณะอนุกรรมาธิการศึกษา พ.ร.บ.กีฬามวย พ.ศ.2542 กล่าวว่า เรื่องการจัดมวยในสนามกรุงเทพฯ ไม่น่าห่วงแต่ห่วงในเรื่องการจัดมวยตามภูธร เพราะถือเป็นอำนาจผู้ว่าราชการจังหวัด เพราะตามต่างจังหวัดจะเป็นสนามมวยล้อมผ้า การจัดมวยจะไม่พอค่าใช้จ่ายต้องการให้ทางมหาดไทยช่วยในมวยต่างจังหวัด เพราะห่วงเรื่องนักมวยที่จะท้อเพราะไม่มีค่าใช้จ่ายโดยเฉพาะมวยเด็กที่จะเติบโตเป็นมวยรุ่นใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต
นายวัชรพล โตมรศักดิ์ รองประธานคณะอนุกรรมาธิการติดตามผลกระทบ”โควิด19” กล่าวว่า การออกแนวทางการจัดมวยภูธรก่อนการจัดงาน 14 วัน และให้ มี กกท.- สาธารณสุข แลผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้ให้อนุญาต ส่วนตัวมองว่าเป็นการสร้างขั้นตอนและการให้อำนาจกับทาง กกท.ประจำจังหวัดที่ไม่จำเป็น เพราะอาจเป็นช่องทางในทางทุจริตได้ของเจ้าหน้าที่จึงต้องการให้มีการทบทวนเกี่ยวกันเรื่องนี้
นายณัฐเดช วชิรรัตนวงศ์ ที่ปรึกษาประจำอนุกรรมาธิการฯ พ.ร.บ.มวย กล่าวว่าปัญหานี้คนมวยภูธรได้เข้าไปขอความเห็นใจต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เพราะกีฬามวยไม่สามารถจัดขึ้นมาได้เลยโดยเฉพาะมวยภูธรเมื่อจัดไม่ได้ก็จะส่งผลกระทบต่อไปถึงมวยในสนามใหญ่ และปัญหาในเรื่องมาตรฐานการให้อนุญาตนั้น สถานบันเทิงถึงมีการอนุญาตแต่สนามมวยกลับไม่ได้รับการอนุญาตจึงมองว่าเป็นเรื่องสองมาตรฐาน
นายยุทธนา เกียรติดำเนินงาม รองประธานอนุกรรมาธิการติดตามผลกระทบฯ ”ไวรัสโควิด-19” กล่าวว่า เข้าใจว่าขณะนี้กีฬามวยกลายเป็นแพะของสังคม การออกระเบียนในการขออนุญาตจึงสรร้างขั้นตอนมากยิ่งขึ้น ทั้งที่สามารถที่จะผ่อนปรนกันได้หากเปรียบเทียนกับสถานบันเทิง จึงขอเสนอว่าในกรณีมวยภูธรการขออนุญาตจัดการแข่งขัน เมื่ออยู่ในภูธรหรือท้องถิ่นสมควรให้นายอำเภออนุญาตเท่านั้น เพื่ออำนวยความสะดวก
สำหรับบรรยากาศการประชุมนอกจากการสะท้อนปัญหาผลกระทบแล้ว ในการจัดมวยนั้นขณะนี้ชัดเจนว่าสามารถที่จะจัดได้ทันที โดย ดร.เอกการ ซื่อทรงธรรม ประธานคณะอนุกรรมาธิการติดตามผลกระทบ”โคโรนา-19” กล่าวสรุปในที่ประชุมว่า การจัดมวยสามารถที่จะได้ในส่วนของมวยภูธร หากไม่มีการพนันสามารถขอได้กับ กกท.จังหวัด แต่หากมีการพนัน ให้ขออนุญาตกับ นายอำเภอในแต่ละจังหวัด ส่วนมาตรฐานการจัดให้ศึกษาและปฏิบัติตามคู่มือ แต่หากมีการใช้ดุลยพินิจในพื้นที่หากมีการประเมินถึงความเสี่ยงโรคไวรัสโคโรนา-19 ก็ขึ้นอยู่กับผู้ว่าราชการจังหวัดว่าจะอนุญาตหรือไม่ ซึ่งอาจจะใช้ดุลยพินิจยกเลิกการจัดการแข่งขันได้ทันทีเช่นกัน
ติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวแวดวงกีฬา เทรนใหม่ๆ ได้ที่ valleyhistoryinc.com
|